ในช่วงรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5โดยที่รัฐบาลกลางไม่ได้มากำกับการบริหาร
เพียงแต่ในฐานะประเทศราชต้องมีพันธะทางการเมือง ที่จะต้องปฏิบัติกล่าวคือ
1. ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง หรือเจ้านายชั้นขุนนางจะต้องเข้าเฝ้ากราบทูลและรับการแต่งตั้งที่กรุงเทพฯ
2. เจ้าเมืองต้องส่งเครื่องบรรณาการอันได้แก่ ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และสิ่งของอื่นๆ
ตามกำหนด สามปีต่อครั้ง
3. ต้องส่งกองทัพมาช่วยรบ ยามเกิดศึกสงคราม สภาพโดยทั่วไป ในนครลำปางในยุคที่เป็นประเทศราช
การคมนาคม อาศัยทางน้ำคือแม่น้ำวังเป็นหลัก ผู้คนใช้แม่น้ำแทนถนนในการเดินทาง
การทำมาค้าขายในระหว่างปลาย คริสตร์ ศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20
(1891 - 1907) นครลำปางกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ในฐานะเมืองท่าพานิชย์
ที่ติดต่อค้าขายทางไกลข้ามประเทศ ระหว่าง พม่า และ ยูนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีนและยังเป็นเมืองท่าสำคัญในการล่องไม้ซุงสัก
และการค้าทางเรือระหว่างทางเหนือกับกรุงเทพฯ โดยมี"ตลาดจีน"ริมฝั่งแยกคนต่างชาตินี้
แตกต่างโดยสิ้นเชิง จากเรือนพื้นถิ่นของชาวนครลำปาง อาคารร้านค้าที่ตลาดจีนนั้น
มีการนำเอาอิฐมาใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งในขณะนั้นชาวเมืองนครลำปางจะใช้อิฐในการก่อสร้าง
ศาสนสถานเช่น วัด และกำแพงเมือง ไม่นิยมใช้อิฐในการก่อสร้างบ้านเรือนโดยทั่วไป
ยกเว้นที่ทำการราชการ เช่น อาคารโรงทหาร อาคารศาลาเก่าสนามหลวง เป็นต้น
การนำอิฐมาใช้ในการก่อสร้างอาคารตลาดจีนทำให้อาคารมีความแข็งแรง ทนทาน
และหลายหลังที่ยังไม่ถูกรื้อถอน ก็ยังสามารถคงสภาพส่วนใหญ่ไว้ได้ดีจนถึงปัจจุบัน
เช่นเรือนขนมปังขิง(Ginger Bread)ที่มีหน้ามุขลายน้ำตกแต่งตามแบบ Colonial
style เน้นความละเอียดในสถาปัตยกรรม
ด้วยเหตุที่ตลาดจีนตั้งอยู่ริมแม่น้ำวัง
จึงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในฤดูน้ำหลากทุกๆปี จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.
2508 (ค.ศ. 1965) ได้มีการก่อสร้าง เขื่อนกิ่วลม อุทกภัยจึงเบาบางลง
อาคารในย่าน"ตลาดจีน"ส่วนที่เป็นโครงสร้างไม้ จึงได้รับผลกระทบมากที่สุด
อาคารไม้ บ้านไม้ มีการรื้อถอน เปลี่ยนสภาพ ก่อสร้างใหม่ตามประโยชน์ใช้สอย
เป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าการพานิชย์ ที่ยังปรากฏเป็นเรือนไม้ทรงหลังคาปั้นหยาและเรือนไม้ทรงหลังคามะนิลา
เพื่อการพักอาศัยโดยเฉพาะอยู่หลายหลัง และมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่กลุ่มพ่อค้าชาวพม่า
ดังนั้นในย่านตลาดจีน กลุ่มพ่อค้าชาวพม่าและชาวจีนจึงเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น
และกลุ่มพ่อค้าเหล่านี้ก็มีความสัมพันธ์ที่ดี พึ่งพาอาศัยกัน ดังจะเห็นว่าอาคารของพ่อค้าจีนบางหลังก็มีส่วนของสถาปัตยกรรมพม่าตกแต่งผสมผสานอย่างงดงามกลมกลืน
สันนิษฐานว่าคงใช้ช่างและแรงงานฝีมือพม่าในการก่อสร้าง เมื่อทางรถไฟสายเหนือมาถึงนครลำปางในปีพ.ศ.2458
การคมนาคมทางน้ำค่อยๆ ลดบทบาทในด้านศูนย์กลางการค้าขาย มาเป็นเพียงย่านที่อยู่อาศัย
ในที่สุด "ตลาดจีน" จึงกลายเป็นตำนานเล่าขานของเรื่องราวที่ผ่านกาลเวลา
และประวัติศาสตร์ความเป็นไปของนครลำปาง
ในช่วงเวลาแห่งความรุ่งโรจน์ที่สุดช่วงหนึ่ง
ส่วนอาคารเก่า แก่ที่สร้างด้วยอิฐและปูนซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่ามาแต่อดีตนั้นยังคงยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบันเช่น
อาคารฟองหลี อาคารคมสัน อาคารหม่อง งวย สิ่น อาคารตึกแดง อาคารบ้านบริบูรณ์
อาคารสินานนท์ เป็นต้น อาคารเหล่านี้ทอดตัวเรียงรายอยู่บนถนน "ตลาดจีน"อย่างงามสง่า
เป็นอาคารแห่งประวัติศาสตร์ที่มีสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อช่วยเสริมสร้างให้สภาพแวดล้อมของลำปางมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
"ตลาดจีน"
เป็นประเพณีอย่างหนึ่งแต่โบราณมาก็คือ
หากคนหมู่ใด เหล่าใด ได้อพยพไปอยู่ที่ใด เป็นกลุ่มเป็นเหล่าแล้วก็มักจะสร้างวัดขึ้น
และนิมนต์พระสงฆ์องค์เจ้ามาประจำเพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจ ได้ทำบุญสุนทาน
เมื่อได้สร้างวัดวาอารามมีพระสงฆ์อยู่ประจำก็จะได้ฝากลูกหลานให้ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมคัมภีร์กันสืบไปเป็นประเพณี
พ่อค้าแม่ค้าคหบดีแถวตลาดจีนเห็นว่าเกาะกลางที่แยกแม่น้ำออกเป็นสองแควในแถวละแวกบ้านของตนอยู่นี้
พอจะข้ามไปมาอุปถัมภ์ทำบุญสุนทานได้สะดวก ทั้งยังแยกไปเป็นสัดเป็นส่วนไม่ปะปนกับชุมชน
จึงพากันสร้างวัดขึ้นที่เกาะกลางน้ำนั่นเอง ชื่อว่าวัดเกาะวาลุการาม
คือวัดที่ตั้งอยู่บนเนินทรายกลางน้ำ ท่านผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรุ่นก่อนๆก็ได้พากันออกทุนทรัพย์
ทั้งกำลังกาย กำลังใจ แผ้วถางปลูกสร้าง ขยับขยายด้วยการซื้อขายบ้าง แบ่งปันยกให้บ้างแล้วแต่กำลังศรัทธา
อาคารหลังแรกของวัดเกาะวาลุการามนี้
ปรากฏเป็นกุฏิไม้ไผ่ ฝาขัดแตะ เมื่อเริ่มตั้งวัดเห็นจะอยู่ประมาณปี พ.ศ.
2427-2430 ก็ประมาณ 90 ปีมาแล้ว ซึ่งผู้ศรัทธาก่อตั้งอาจกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เป็นท่านพ่อค้า
แม่ค้า คหบดีที่ตั้งเคหสถานบ้านเรือน ในแถว "ตลาดจีน" ตลอดทั้งสาย นอกนั้นก็มีชาวบ้าน
ข้าราชการทั้งที่ไม่ได้อยู่ในละแวกนั้นอีกเป็นจำนวนมาก ......จบ