ประวัติความเป็นมา "กาดกองต้า"
ประวัติความเป็นมาของย่านการค้าที่รุ่งเรืองในอดีต ตลาดจีน ย้อนอดีตตลาดจีนลำปาง ลำปางในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการต้าทางน้ำที่รุ่งเรือง เป็นเมืองท่าที่สำคัญเชื่อมต่อศูนย์กลางการค้าเมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์) กับภาคเหนือตอนบน เป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก แหล่งชุมชนเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองว่า ตลาดจีนหรือ ตลาดเก่า แม่น้ำวังเป็นเส้นแม่น้ำสายสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นท่าล่องซุงไม้สักของคนต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำกิจการป่าไม้ทำรายได้มากมาย เป็นแหล่งสะสมทุนหลักของพ่อค้าในลำปาง อดีตการคมนาคมไม่สะดวก การทำมาหากินของคนชาวลำปางอยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ผลผลิตจากป่า การค้าระหว่างเมืองในเขตภาคเหนือด้วยกันเป็นการค้าโดย พ่อค้าวัวต่าง ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาในหมู่บ้านรวบรวมผลผลิต เช่น เมี่ยง ยาเส้น ครั่ง ของป่า ฯลฯ ขายให้แก่พ่อค้า ในเมือง ขากลับนำสินค้าที่ต้องการมาขายในหมู่บ้าน เช่น เกลือ เครื่องเหล็ก ปลาแห้ง ฯลฯ
การค้าทางไกลทางบกเป็นการค้าระหว่างเมืองไกลชายแดน เช่น พม่า ยูนนาน รัฐฉาน เมืองมะละแหม่ง และเชียงตุง ส่วนใหญ่ เป็นพ่อค้าพื้นเมือง ทั้งพม่า ไทยใหญ่ และจีนฮ้อ มีพ่อค้าวัวต่างพื้นเมืองบ้าง พ่อค้าวัวต่างส่วนใหญ่เป็นการค้าเชื่อมระหว่างลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ การค้าทางบกดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2372 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนจากทางบกเป็นการค้าระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองปากน้ำโพ เนื่องจากการทำป่าไม้สักส่งออก เปลี่ยนจากเส้นทางแม่น้ำสาละวิน
มาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน) เส้นทางบกค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป แม่น้ำวังจึงเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์การล่องซุงไม้สักออกจากลำปางเพื่อรวมกันที่ปากน้ำโพผูกเป็นแพซุงล่องสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องหลายสิบปีของบริษัททำไม้ฝรั่ง
การก่อตัวของชุมชนตลาดจีน ลำปางเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความเป็นมามากกว่าพันปี นอกจากคนเมืองยังมีคนไทลื้อ อพยพมาจากเมืองเชียงแสน พม่ามาทำป่าไม้และค้าขาย ชาวอังกฤษได้สัมปทานป่าไม้ ขมุมารับจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่จะมารวมตัวอยู่บริเวณ ตลาดจีนเพราะเป็นแหล่งจอดท่าเรือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศบริเวณแม่น้ำวังมีเกาะกลางแม่น้ำ(ที่ตั้งบริเวณวัดเกาะในปัจจุบัน) กั้นแบ่งแม่น้ำวังออกเป็นสองสาย ด้านที่ติดต่อกับฝั่งชุมชนตลาดจีน เป็นช่องแคบและตื้นเหมาะเป็นที่จอดเรือ จึงกลายเป็นแหล่งชุมชนมีคนมาขนถ่ายสินค้าขึ้นลง ยังเป็นที่จอด กองคาราวาน (กองเกวียน)
จากต่างแดนมาจอดเพื่อรอรับสินค้านำไปขายอีกต่อหนึ่ง ประการสำคัญเป้ฯท่าน้ำรวบรวมซุงจากป่าไม้ต่าง ๆ เพื่อนำล่องปากน้ำโพต่อไป จากปัจจัยดังกล่าว ตลาดจีนเดิมเป็นท่าจอดเรือขนถ่ายสินค้าและเป็นท่าล่องซุงพ่อค้าส่วนใหญ่ จะขึ้นล่องกับเรือ อาศัยเพิงปลูกค้าขายและนอนพักชั่วคราว บริเวณนี้เป็นที่ตั้ง สำนักงานป่าไม้บริษัทตะวันตกต่าง ๆ ชาวพม่าที่เป็นเฮดแมนต้องทำการควบคุมการล่องซุง ดูแลกิจการจึงมีการปลูกสร้างอาคารขขึ้นมาเพื่อเป็นสำนักงานเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง และใช้เป็นที่พักอาศัยรับรองตัวแทนบริษัททำไม้ของชาวต่างชาติมาตรวจงานป่าไม้ พร้อมกับ
ต้องอำนวยความสะดวกมีสินค้าฝรั่งต่าง ๆ ขายให้ จึงเป็นแหล่งการค้าขายในตัวมันเอง ช่วงแรก ๆ พ่อค้ามักจะเป็นชาวไทใหญ่ พม่า เงี้ยว และพ่อค้าวัวต่าง ซึ่งมีฐานะจากการทำงานให้บริษัทป่าไม้ฝรั่งพร้อมกบการค้าขาย ต่อมาเมื่อการคมนาคมทางน้ำเริ่ม มีความสำคัญพ่อค้าคนจีนเริ่มเดินทางเข้ามาพร้อมเรือสินค้า เป็นกุลีรับจ้าง มาพบทำเลที่เหมาะประกอบกับความขยันขันแข็ง มีหัวการค้าที่ดีกว่าจึงเริ่มเข้าครอบงำ มีบทบาททางการค้า แย่งเบียดเบียนชาวไทใหญ่พม่าออกไปจากตลาดการค้า
พ่อค้าจีนส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนไหหลำและจีนแคระนิยมถักผมเปียยาวเป็นคนจีนอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อมีช่องทางทำมาหากินได้ชักชวนกันมาอยู่มากขึ้น และครอบงำคนพื้นเมืองตั้งเดิมเกือบหมด มองไปทางไหนก็มีแต่คนจีนทำการค้าขายจึงเรียกว่า ตลาดจีน หรือเปลี่ยนเป็นตลาดเก่า สมัยนิยมไทยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นยุคทองของชาวจีนอีกครั้ง เมื่อบทบาททางการเดินทางรถไฟมาถึงลำปางครั้งแรก เมื่อ 1 เมษายน 2459 เป็นการเปิดด่านเชื่อมระหว่างลำปางกับเมืองเหนือผนวกควบกับส่วนกลางกรุงเทพฯเป็นผลกระทบต่อสังคามเศษฐกิจวิถีชีวิตของ
คนลำปางที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากและต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันกาดกองต้าย้อนอดีตตลาดจีนลำปาง ลำปางในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการต้าทางน้ำที่รุ่งเรือง เป็นเมืองท่าที่สำคัญเชื่อมต่อ ศูนย์กลางการค้าเมืองปากน้ำโพ (นครสวรรค์)กับภาคเหนือตอนบน เป็นแหล่งกระจายสินค้าเข้าออก แหล่งชุมชนเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองว่า ตลาดจีนหรือ ตลาดเก่า แม่น้ำวังเป็นเส้นแม่น้ำสายสำคัญของประวัติศาสตร์ เป็นท่าล่องซุงไม้สักของคนต่างชาติที่ได้รับสัมปทานทำกิจการป่าไม้ทำรายได้มากมายเป็นแหล่งสะสม ทุนหลักของพ่อค้าในลำปางอดีตการคมนาคมไม่สะดวก การทำมาหากินของคนชาวลำปางอยู่ในระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพ มีการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ ผลผลิตจากป่า การค้าระหว่างเมืองในเขตภาคเหนือด้วยกันเป็นการค้าโดย พ่อค้าวัวต่าง ซึ่งเป็นชาวไร่ชาวนาในหมู่บ้านรวบรวมผลผลิต เช่น เมี่ยง ยาเส้น ครั่ง ของป่า ฯลฯ ขายให้แก่พ่อค้าในเมือง ขากลับนำสินค้าที่ต้องการมาขายในหมู่บ้าน เช่น เกลือ เครื่องเหล็ก ปลาแห้ง ฯลฯ
การค้าทางไกลทางบกเป็นการค้าระหว่างเมืองไกลชายแดน เช่น พม่า ยูนนาน รัฐฉาน เมืองมะละแหม่ง และเชียงตุง ส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าพื้นเมือง ทั้งพม่า ไทยใหญ่ และจีนฮ้อ มีพ่อค้าวัวต่างพื้นเมืองบ้าง พ่อค้าวัวต่างส่วนใหญ่เป็นการค้าเชื่อมระหว่าง ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ การค้าทางบกดังกล่าวเริ่มตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. 2372 เป็นต้นมา ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 เส้นทางการค้าได้เปลี่ยนจากทางบำ เป็นการค้าระหว่างกรุงเทพฯ เชียงใหม่ มีศูนย์กลางการค้าอยู่ที่เมืองปากน้ำโพ เนื่องจาก การทำป่าไม้สักส่งออก เปลี่ยนจากเส้นทางแม่น้ำสาละวินมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปิง วัง ยม น่าน) เส้นทางบกค่อย ๆ ลดความสำคัญลงไป แม่น้ำวังกลายเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ การล่องซุงไม้สักออกจากลำปางเพื่อรวมกันที่ปากน้ำโพผูกเป็นแพซุงล่องสู่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องหลายสิบปีของบริษัททำไม้ฝรั่ง เมื่อทางรถไฟสายเหนือมาถึงลำปางและขยายต่อไปถึงเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2464 การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น ทางน้ำค่อย ๆ ลดบทบาทหมดความสำคัญลงตามลำดับ เป็นเหตุให้แหล่งชุมชนการค้าย่อย ๆย้ายไปบริเวณสถานีรถไฟลำปาง สบตุ๋ย ในเวลาต่อมาประจวบ กับการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดลำปาง เพื่อเป็นทางผ่านไปพม่า เข้ายึดบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะย่านการค้าตลาดจีน ด้วยเหตุต้องการยึดยุทธปัจจัย
ทำให้ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ในชุมชนตลาดจีนของคนเชื้อสายจีน พม่า และฝรั่งต้องอพยพ หนีภัยสงคราม การไม้ต้องยุติลงโดยปริยาย ชุมชนตลาดจีนจากเดิมเป็นแหล่งศูนย์กลาง การค้าทางเรือที่เจริญค่อย ๆ ลดบทบาททางการค้าและกลายมาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
แม้ว่าประวัติศาสตร์ผ่านไป แต่คุณค่าของชุมชนที่เรียกว่า ตลาดจีน ยังคงปรากฏริ้วรอยความเจริญ การอนุรักษ์สภาพอาคาร ร้านค้า ในอดีตที่ยังคงคุณค่าของสถาปัตยกรรม วัฒนธรรมตามแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมตามเชื้อสายของผู้เป็นเจ้าของที่ปลูกสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและประโยชน์ในการค้า ฝีมือที่แสดงออกได้บ่งชี้ความสามารถ ในเชิงศิลปะและ ความรุ่งเรืองในอดีตที่ผ่านมา
อาคารเก่าในกาดกองต้า
อาคารฟองหลี (สร้างในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๔ - ๒๔๔๔) เข้มขรึม สุดคลาสสิก
อาคารสองชั้นตรงหัวมุมถนนตลาดเก่านี้ ยกพื้นสูงจากถนนประมาณ ๑ เมตร กว้าง ๑๖ เมตร ลึกราว ๑๐ เมตร หลังคาจั่วตัดขวางแบบจีน ชั้นบนเป็นห้องนอนพร้อมกับมีระเบียงและชายคาด้านหน้าถูกแต่งเติมเพิ่มเสน่ห์ด้วยไม้สักฉลุลวดลายโปร่ง เสาไม้รับระเบียงเรียงรายตรงทางเดินด้านล่างเป็นผลมาจากอิทธิพลตะวันตกที่แพร่หลายเข้ามาในสมัยนั้นขณะเดียวกัน บานประตูชั้นบนและชั้นล่างก็กลับเป็นบานเฟี้ยมลูกฟักไม้สักแบบจีน การตกแต่งทางเข้าด้านหน้าทำอย่างวิจิตร เหนือประตูเป็นช่องประดับไม้ฉลุลวดลายพรรณพฤกษาอ่อนช้อยแปลกตารูปครึ่งวงกลม ค้ำยันระหว่างพื้นชั้นสองและเสารายระเบียงด้านหน้าฉลุประดับตกแต่งเสาเม็ดเล็กๆ ทแยงมุมนี่เองที่ทำให้ น. ณ ปากน้ำ ชื่นชมอาคารฟองหลีว่าศิลปะลายฉลุแบบขนมปังขิงฝีมือประณีตมาก โดยเฉพาะลายเท้าแขนตรงมุมหัวเสาและลายช่องลมโค้งของประตูซึ่งแปลกกว่าที่อื่น น่าสังเกตว่า งานไม้อันชวนตะลึงพรึงเพริดทั้งหมดของอาคารฟองหลีล้วนไม่มีการทาสี บ่งบอกถึงความเป็นอาคารอิฐผสมไม้ในยุคแรกๆ ที่เรือนขนมปังขิงแพร่หลายเข้ามาในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ คาบเกี่ยวต้นรัชกาลที่ ๖ ซึ่ง น. ณ ปากน้ำ ให้รายละเอียดไว้ใน “แบบแผนบ้านเรือนในสยาม” ว่า อาคารในยุคนี้หน้าจั่วจะไม่มีการฉลุอย่างหรูหรา มีแต่ครีบหลังคาบกับลายฉลุใต้มุมแหลมของจั่ว มีช่องลมเหนือหน้าต่างโค้ง และบางทีก็มีกันสาด เสาที่มุขหรือเฉลียงจะเป็นเสากลมโดนกลึงอย่างงดงาม บางแห่งมีทวยหูช้างใต้ชายคา หรือทำเป็นแบบทวยหูช้างอยู่ตรงมุมหัวเสากับคานข้างบน ด้านผนังอาคารเป็นแบบผนังก่ออิฐรับน้ำหนัก หนาราว ๔๐ เซนติเมตร มีการเสริมบัวหงายแบบฝรั่งคาดระหว่างชั้นบนและชั้นบนล่างภายนอกอาคาร ขอบหน้าต่างมีการทำคิ้วก่อบัวเป็นลายปูนปั้นแบบตะวันตกไว้เหนือหน้าต่างเพื่อกันน้ำฝนตกหยดย้อย หน้าต่างมีบานเกล็ดไม้ให้ลมเข้า โดยสามารถเปิดบานกระทุ้งหรือเปิดทั้งหมดได้ตลอดแนวเหมือนบานประตู มีการใช้บานพับ กลอน และเหล็กเส้นกับประตูหน้าต่างอันเป็นวัสดุที่นำมาใช้เป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนการยึดไม้ใช้ระบบเดือยและสลัก ทั้งยังสำรวจพบว่ามีการนำตะปูจีนมาใช้ด้วยนับเป็นการผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะตะวันตกและตะวันออกได้อย่างน่าชมเหลือเกิน ผู้สร้างความงดงามให้อาคารฟองหลีชื่อ “จีนฟอง” หรือเจ้าสัวฟอง ผู้ซึ่งได้รับสัมปทานป่าไม้ ทั้งยังเป็นเจ้าภาษีนายอากรฝิ่นและสุราของเมืองลำปาง นับเป็นชาวจีนที่มีฐานะดีที่สุด เจ้าสัวฟองยังสนิทสนมกับเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้คลองนครลำปางองค์สุดท้าย ซึ่งได้ตั้งนามสกุลให้เจ้าสัวฟองว่าฟองอาภา
อาคารฟองหลีเดินทางมาถึงจุดเปลี่ยนในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อหน้าจั่วด้านทิศตะวันตกพังทลายลงมา ทางจังหวัดจึงได้มีหนังสือเตือนให้ซ่อมแชม และในที่สุดก็มีคำสั่งรื้อถอนภายใน ๗ วัน แม้เจ้าของอาคารในขณะนั้นมีความคิดที่จะอนุรักษ์อาคารแห่งนี้ไว้ หากแต่ก็ต้องใช้ทุนทรัพย์จำนวนมาก เพราะนี่ไม่ใช่แค่งานก่อสร้างธรรมดาว่าเปรียบได้กับการบูรณะศิลปสถาปัตยกรรมเลยทีเดียว หากเจ้าสัวฟองคือผู้รังสรรค์อาคารฟองหลีในอดีต ก็อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ยึดโยงสายใยระหว่างอดีตกับปัจจุบันไม่ให้ตกหล่นไปอย่างน่าเสียดาย คือกิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล เจ้าของอาคารฟองหลีคนปัจจุบันที่ร่วมอนุรักษ์ไว้ ๓ คูหา และทายาทตระกูล “สุรวิชัย” อนุรักษ์ไว้ ๑ คูหา ทั้งนี้ กิติศักดิ์ยังได้สันนิษฐานว่าอาคารแห่งนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นช่วงปี พ.ศ. ๒๔๓๔ – ๒๔๔๔ เนื่องจากระหว่างการบูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีการพบตราของบริษัทบอมเบย์เบอร์มาบนหัวเสาไม้ของอาคาร ซึ่งบริษัทดังกล่าวเข้ามาตั้งสาขาในจังหวัดลำปางเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๔
หลังจากระดมทีมงานเก็บข้อมูลทางกายภาพ พร้อมทั้งคัดลอกแบบรายละเอียดและเก็บข้อมูลสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแล้วเสร็จ การซ่อมแซมอาคารจึงดำเนินไปอย่างรอบคอบ โดยใช้เวลาถึง ๒ ปีในอันที่จะประคับประคองอาคารอันปี่ยมเสน่ห์ไม่ให้ร่วงโรยไปตามกาลเวลา กระทั่งกลับมาอวดความงามได้อีกครั้ง ทั้งยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลป์สถาปัตยกรรมดีเด่น ปี ๒๕๕๑ ประเภทอาคารพาณิชย์ จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ทุกวันนี้ อาคารฟองหลีที่มี ๔ คูหา มูลนิธินิยม ปัทมะเสวีเปิด ๒ คูหาเป็นศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวีเพื่อให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการเรียนรู้ของเด็กๆ และชาวลำปาง โดยมีห้องสมุดและมีการกำหนดจัดกิจกรรมที่น่าสนใจอยู่เนืองๆ สร้างชีวิตชีวาให้อาคารเก่าแก่แห่งนี้ได้ทำหน้าที่รับใช้ชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้อย่างแยบยลและร่วมสมัย
บ้านคมสัน (สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๖๐) เมื่อตะวันตกพบตะวันออก
ถัดจากอาคารฟองหลีมาไม่ไกล บ้านหลังใหญ่โตสีเหลืองโดดเด่นนั้นคือ บ้านคมสัน ช่วงฤดูหนาว ริมรั้วยาวเหยียดจะสะพรั่งไปด้วยดอกพวงแสดงามตายิ่งนัก ผู้เป็นเจ้าของรุ่นแรกคนตลาดจีนรู้จักกันดีในชื่อป๋าน้อย-ย่าลางสาด คมสัน บ้านคมสันเป็นบ้านปูนหลังแรกในย่านนี้ สร้างขึ้นช่วงเวลาเดียวกับสะพานรัษฎาภิเศก คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ซึ่งป๋าน้อยได้เพื่อนฝรั่งจากบริษัททำไม้ช่วยออกแบบให้ แล้วใช้ช่างชาวเซี่ยงไฮ้ที่ขึ้นชื่อเรื่องฝีมือทางเชิงช่างมาก่อสร้าง ด้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ นำมาจากกรุงเทพฯ บรรทุกมากับรถไฟและเรือกลไฟ
ประตูรั้วที่เปิดอยู่เผยอาณาบริเวณด้านในอันกว้างขวาง บ้านคมสันหลังใหญ่โตได้กลิ่นอายแบบฝรั่งชัด เป็นเรือนปั้นหยาจั่วตัดปลาย ๔ มุข อันเป็นเรือนปั้นหยาที่มีการพัฒนาขึ้นมา โดยเป็นกลุ่มที่มีการตกแต่งมากที่สุดในบรรดาเรือนปั้นหยาทั้งหมด นิยมกันมากในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๗-๘ เดิมทีตัวบ้านทาสีเทาอ่อน หลังคามุงกระเบื้องสีแดง แต่ทุกวันนี้เมื่อตกทอดมาถึงรุ่นหลาน คือ ขวัญพงษ์ คมสัน ได้ปรับปรุงซ่อมแซมทาสีเหลืองจนสวยสะดุดตา
บ้านคมสันเป็นอาคารปูนชั้นเดียว ยกใต้ถุน บางส่วนของใต้ถุนมีการต่อเติมเป็นห้องทำงาน มีบันไดขึ้นสองทาง โดยจะมีชานเล็กๆ ก่อนเข้าบ้าน การตกแต่งใช้เทคนิคปูนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ก็มีการประดับกระจกสีด้วย ผนังบ้านและเสาใช้วิธีหล่อคอนกรีตผสมกับหินกรวดจากแม่น้ำวัง จึงแข็งแรงทนทาน ส่วนที่เป็นไม้ก็มีการนำมาตากผึ่งให้แห้งสนิทก่อนเพื่อให้คงทน ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คือความสูงของใต้ถุนบ้านหลังนี้ ถูกออกแบบให้อยู่ในระดับเดียวกับตัวสะพานรัษฎาภิเศกน้ำจึงไม่เคยท่วมขึ้นไปถึงตัวบ้านเลยสักครั้ง
อาคารเยียนซีไท้ลีกี (สร้างในปี พ.ศ. ๒๔๕๖) ตึกฝรั่ง หัวใจจีน
จากบ้านของแม่เลี้ยงเต่าเดินไม่ไกลจะถึงอาคารเยียนไท้ลีกีที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยนายห้างใหญ่ชาวจีนชื่อนายจิ้นเหยี่ยน (อารีย์ ทิวารี) ตันตระกูลทิวารี เอเยนต์น้ำมะเน็ด ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์สร้างด้วยปูนทั้งหลัง ประดับตกแต่งแบบตะวันตกชนิดเต็มรูปแบบ หลังคาเป็นปั้นหยา แต่กั้นแบบดาดฟ้า (Paraped) ลวดลายที่ใช้มีทั้งไม้ฉลุและปูนประดับ โดยด้านบนของอาคารบริเวณตรงกลางมีหน้าจั่วที่บอกถึงปีที่สร้างอาคารนี้ คือ ค.ศ. ๑๙๑๓ และมีรูปปั้นหนูตามปีเกิดผู้เป็นเจ้าของ และลายสัญลักษณ์ลูกโลกพร้อมทั้งลายใบไม้ ดอกโบตั๋น ลายต้นไผ่ และลายประดิษฐ์รูปโบว์
ห้างเยียนซีไท้ลีกีเคยเป็นห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุดในย่านตลาดจีน ทั้งยังมีตู้เชฟโบราณเจาะฝังเข้าไปในกำแพงคล้ายห้องลับขนาดเล็ก โดยฝาตู้เชฟใบนี้นำเข้าจากเยอรมนีโดยบรรทุกมากับเรือ ปัจจุบันฝาตู้เชฟก็ยังมีอยุ่ ในอตีดเมื่อมีเหตุการณ์ล่อแหลมเกิดขึ้นในชุมชน เจ้าของห้าง รวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆ จะนำทรัพย์สินมาฝากไว้ที่นี่
ปัจจุบันทายาทตระกูลทิวารีได้แบ่งห้องในอาคารนี้ให้เช่าทำร้านค้าและที่อยู่อาศัย บางคูหาเปลี่ยนเจ้าของไปแล้ว กลายเป็นร้านอาหาร
บ้านแม่แดง (สร้างราวปี พ.ศ. ๒๔๖๑) อดีตร้านเกากี่ที่รุ่งเรือง
ตรงข้ามกับบ้านทนายความเป็นบ้านแม่แดง ของนายเกา แซ่แห่ว-แม่แดง พานิชพันธ์ เดิมบ้านหลังนี้คือร้านเกากี่ ขายสรรพสินค้าที่นับว่าทันสมัยมากในสมัยนั้น ทั้งของใช้ในประเทศจากกรุงเทพฯ และนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีลูกค้าร่ำรวยทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้านายฝ่ายเหนือพวกฝรั่งจากบริษัททำไม้ รวมไปถึงคนมีฐานะทั่วลำปาง ภายหลังนายเกาถึงแก่กรรมแม่แดงก็ดำเนินกิจการต่อมาด้วยตัวเอง โดยล่องเรือขึ้นล่อง ลำปาง-กรุงเทพฯ เป็นประจำ รวมทั้งยังเดินทางไปค้าขายต่างจังหวัดอยู่บ่อยๆ จนจัดว่าเป็นคนมีฐานะดีคนหนึ่งของย่านตลาดจีน
เจ้าของบ้านแม่แดงคนปัจจุบัน คืออาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ซึ่งได้มีการซ่อมแซมบ้านอยู่เสมอ เช่น ทาสีใหม่ นำไม้แกะสลักมาตกแต่งบริเวณใต้ชายคา เรือนแถวปั้นหยาทรงธรรมดาสองชั้นหลังนี้ เป็นแบบครึ่งปูนครึ่งไม้ อยู่ติดถนน ไม่มีรั้ว ประตูบานเฟี้ยมแบ่งเป็น ๓ ประตูใหญ่ ชั้นบนมีการตกแต่งราวระเบียงเป็นลวดลายเรขาคณิตสวยงามโดดเด่น รับกับใต้ชายคา ที่มีการนำไม้แกะสลักและฉลุลายมาตกแต่ง
อาคารหม่องโง่ยซิ่น (สร้างราวปี พ.ศ. ๒๔๕๑) พลิ้วไหวในงานไม้
โดดเด่นที่สุดในแถบนี้ เห็นจะเป็นอาคารที่อยู่ตรงข้ามอาคารกาญจนวงค์นี่เอง งามกระทั่งศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ อย่าง น. ณ ปากน้ำ ยกย่องว่าเป็นอาคารขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย ทั้งยังได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๐ ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนา จากกรรมาธิการล้านนา สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารหม่องโง่ยซิ่นเป็นเรือนขนมปังขิงหลังคาทรงมะนิลา สูงสองชั้นครึ่ง ลักษณะครึ่งปูนครึ่งไม้ห้องบนสุดคือห้องพระประดับด้วยกระจกสี ขึ้นไปถึงได้โดยใช้บันไดลับที่ซ่อนอยู่ในตู้แบบบิวต์อินบนชั้นสอง ความพิเศษของอาคารหม่องโง่ยซิ่นอยู่ที่ลาบฉลุไม้ (Framework) ทาสีขาวแบบเรือนขนมปังขิงทั่วไป โดยส่วนใหญ่เป็นลายพรรณพฤกษา ลายก้านขด ลายประดิษฐ์ มีลายสัตว์และลายสัญลักษณ์ที่หน้าจั่วประดับตกแต่งแทบทุกส่วนของอาคาร ดูหรูหรา พลิ้วไหว น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ หน้าจั่วมีการประดับสะระไนอันเป็นลักษณะเด่นของเรือนแบบมะนิลา ฝ้าเพดานบุด้วยแผ่นดีบุกดุนลายเหมือนอย่างวัดในพม่า ซุ้มโค้งเหนือประตูด้านในปรุงแต่งด้วยกระจกสีเหมือนดวงอาทิตย์กำลังแผ่รัศมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในบ้านแล้วมองออกมาจะเห็นชัดเจนมาก
ช่างจากพม่าเป็นผู้รังสรรค์ความงามนี้ให้อาคารหม่องโง่ยซิ่น ซึ่งเราจะเห็นตัวอักษรอังกฤษ Moung ngwe zin ติดอยู่ที่ระเบียงไม้ฉลุ สำหรับหม่องโง่ยซิ่นนั้น เป็นบุตรชายหม่องส่วยอัตถ์ ชาวพม่า เฮดแมนคนแรกของบริษัททำไม้ในลำปาง ซึ่งก็คือต้นตระกูลสุวรรณอัตถ์ผู้ร่ำรวยจากการค้าไม้นั้นเอง
เรือนกึ่งปูนกึ่งไม้ ๕ คูหาเคยคึกคักเพราะที่นี่อยู่กันครอบครัวใหญ่ไหนจะท่าเรือ ไหนจะที่ผูกช้าง ยุคหลังๆ จึงปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด เป็นที่พักและบาร์รับรองพวกฝรั่งทำไม้ ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียว แต่ก็มีการใช้ประโยชน์เพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากสภาพโดยทั่วไปของอาคารค่อนข้างเก่า ทั้งนี้ ก็ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนใดเลย ยังคงสภาพเดิมทั้งหมด
อาคารกาญจนวงศ์ (สร้างราวปี พ.ศ. ๒๔๕๑) ขนมปังขิงแสนหวาน
ติดกันกับบ้านอนุรักษ์ คืออาคารขนมปังขิงสองชั้นแบบวางเรือนขวางเช่นเดียวกับอาคารฟองหลี หลังคาจั่วตัดทางขวางซึ่งเป็นการวางผังแบบร้านค้าของชาวจีน ชื่ออาคารกาญจนวงศ์ อ่อนหวานด้วยลายฉลุอันชดช้อยมองเพลิน เดิมเป็นของบัวผัดกาญจนวงศ์ ชาวพม่า แต่ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของเรือนระวี ตรีธรรมพินิจ แห่งร้านเตียเฮ่งฮงย่านสบตุ๋ย
ผู้สร้างเรือนนี้เป็นพ่อค้าไม้ชาวพม่า สร้างเพื่ออยู่อาศัยและเป็นร้านเย็บผ้า อาคารกาญจนวงศ์เป็นอาคารปูนทั้งหลัง ประดับตกแต่งด้วยไม้ฉลุและเทคนิคปูน ลวดลายที่ใช้เป็นลายพรรณพฤกษาและลายประดิษฐ์ เป็นส่วนใหญ่ ตัวอาคารและลายฉลุไม้ทาด้วยสีขาวทั้งหมด ซึ่งเป็นลักษณะของเรือนขนมปังขิง ส่วนที่เป็นไม้บริเวณประตูและหน้าต่างทาสีเทาอ่อน สภาพเรือนได้รับการปรับปรุงเทื่อไม่นานมานี้ ลวดลายปูนปั้นเหนือประตูเป็นลวดลายปูนปั้นนูน มีความสวยงามอ่อนช้อย รังสรรค์ด้วยช่างผู้ชำนาญการจากมัณฑะเลย์ นับเป็นงานปูนปั้นที่ต้องเพ่งพินิจทุกครั้งแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
ที่มาของข้อมูล : หนังสือกาดกองต้าย่านเก่าเล่าเรื่องเมืองลำปาง โดย กิติศักดิ์ เฮงษฎีกุล